สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล : Digital Business Technology Program

ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประยุกต์ใช้กับงานในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เรียนรู้ตั้งแต่พื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ หลักการทำงาน ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การดูแลบำรุงรักษาและซ่อมประกอบคอมพิวเตอร์ ตลอดจนการใช้โปรแกรมสำนักงาน การออกแบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมการทำงานฮาร์ดแวร์ ระบบฐานข้อมูล การออบแบบสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งการสร้างเว็บไซต์ ที่สามารถทำงานบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่น ตลอดจนการประยุกต์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีขั้นสูง มีการจัดกิจกรรมการเรียนโดยเน้นการฝึกทักษะสู่การปฎิบัติจริง เพื่อให้เกิดความชำนาญสามารถสร้างสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สู่การเป็นนักคอมพิวเตอร์มืออาชีพที่ทันต่อโลกปัจจุบัน

แนวทางการประกอบอาชีพ
-นักออกแบบระบบดิจิทัล
-นักพัฒนาระบบดิจิทัล / โปรแกรมเมอร์
-ผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีดิจิทัล
-ผู้บริหารเทคโนโลยีดิจิทัล
-ผู้ประกอบการทางเทคโนโลยี
-นักวิเคราะห์ธุรกิจดิจิทัล

สาขาบัญชี : Accounting Program

 สาขาวิชาการบัญชี จัดหลักสูตรการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะทางด้านวิชาชีพในด้าน ความรู้เกี่ยวกับหลักทฤษฎีและเทคนิคเชิงลึกภายใต้ขอบเขตของงานอาชีพ หลักการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผนและแก้ไขปัญหา หลักการประสานงาน ประเมินผลการปฏิบัติงานบริหารจัดการงานอาชีพ หลักการ ด้านความปลอดภัย หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และพัฒนางานอาชีพ ด้านทักษะ ได้แก่ ทักษะการเลือกและประยุกต์ใช้วิธีการ เครื่องมือและวัสดุุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ทักษะการคิด วิเคราะห์และ แก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน ทักษะการวางแผน การบริหารจัดการ การประสานงานและการประเมินผล การ ปฏิบัติงานอาชีพ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทักษะด้านสุข ภาวะและความปลอดภัย ด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้ ได้แก่ การประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านการบัญชี

แนวทางการประกอบอาชีพ
– พนักงานสำนักงานตรวจสอบบัญชี
– พนักงานบัญชีกิจการเจ้าของคนเดียว
– พนักงานบัญชีกิจการห้างหุ้นส่วน
– พนักงานบัญชีธุรกิจบริการ
– พนักงานบัญชีธุรกิจซื้อขายสินค้า
– พนักงานบริษัทเอกชน
– ลูกจ้างหน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ

สาขาวิชาการตลาด : Marketing Program

มุ่งสร้างให้คุณเป็นนักบริหารการตลาด หรือเจ้าของธุรกิจที่มีความแตกต่าง การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาด้วยการสอดแทรกความคิดสร้างสรรค์ในการเรียนการสอนผ่านการปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาจะได้เรียนรู้การวิเคราะห์ด้านการตลาดแบบเจาะลึก

แนวทางการประกอบอาชีพ
– นักวิเคราะห์การตลาด
– เจ้าหน้าที่การตลาดอินเทอร์เน็ต
– เจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์
– ตัวแทนขาย
– เจ้าหน้าที่วิจัยการตลาด

สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ : Logistics Management Program

การจัดการโลจิสติกส์เน้นการเรียนการสอน เพื่อเพิ่ม และพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ วางแผน และแก้ไขปัญหา ในสายงานอาชีพโลจิสติกส์ ตั้งแต่ต้นน้ำ(แหล่งวัตถุดิบ) จนถึงปลายน้ำ(ลูกค้า) ซึ่งระหว่างที่สินค้า หรือบริการ จะถึงมือลูกค้าก็ล้วนแต่ต้องมีการจัดการโลจิสติกส์เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ การส่งมอบ การจัดการสินค้าคงคลัง เป็นต้น ทำให้สายงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เป็นสายงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งปัจจุบันและอนาคต

แนวทางการประกอบอาชีพ
– งานบริการการขนส่ง
– งานบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ
– งานการวางแผนการผลิต
– การวางแผนการกระจายสินค้าและจำหน่าย
– นำเข้าและส่งออกสินค้า
– ธุรกิจระหว่างประเทศ
– ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก :Retail Business Management

สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกเป็นหลักสูตรแนวใหม่ที่ใช้การบริหารจัดการร่วมระหว่างCP ALL  ก่อให้เกิดความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรและจุดแข็งของทั้งสองฝ่ายร่วมกัน ในการผลิตบัณฑิตที่มีความเข้มแข็งทางด้านวิชาการและโดดเด่นในด้านการปฏิบัติงานและคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพ โดยเฉพาะเป็นทางเลือกให้นักศึกษามีโอกาสเลือกเรียนสาขาที่เกี่ยวกับการใช้ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งเทคนิควิธีการใช้อุปกรณ์การบริหารสมัยใหม่เพื่อเข้าสู่งานอาชีพด้านการค้าปลีกและการประกอบอาชีพของตนเองในอนาคต อันเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์การตลาดและการพัฒนาธุรกิจ
  • เจ้าหน้าที่ออกแบบและจัดการหน้าร้าน
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต

สาขาวิชาการท่องเที่ยว : Tourism Program

มุ่งเน้นให้มีความรู้ ความชำนาญจากการปฏิบัติจริง ในงานบริการด้านธุรกิจท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยวและมัคคุเทศก์ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการเรียนการสอน การฝึกปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยว และฝึกภาคสนามตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในท้องถิ่น ฝึกงานในบริษัทและสถานประกอบการชั้นนำที่มีชื่อเสียง พร้อมทั้งมีบุคลิกภาพที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ มีคุณธรรม จริยธรรม วินัยในตนเองพร้อมทั้งมีสุขอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ เหมาะสมกับอาชีพงาน ควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษที่สามารถใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

แนวทางการประกอบอาชีพ
– มัคคุเทศก์
– ผู้นำเที่ยวในประเทศ
– พนักงานศูนย์ประชุมและนิทรรศการ
– พนักงานจำหน่ายบัตรโดยสารและสำรองตั๋ว
– พนักงานออกแบบโปรแกรมนำเที่ยว
– พนักงานวางแผนนำเที่ยว
– ที่ปรึกษาการท่องเที่ยว
– นักพัฒนาการท่องเที่ยว

สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล : Mechanical Power Technology

ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาและการปฏิบัติงานด้านยานยนต์ ให้คำแนะนำพื้นฐานที่ต้องใช้การตัดสินใจและการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน ซ่อมและบำรุงรักษาเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซลตามคู่มือ ตรวจสอบข้อขัดข้อง บำรุงรักษาระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วยอิเล็กทรอนิกส์ตามคู่มือ บริการระบบปรับอากาศรถยนต์ สามารถซ่อมและบำรุงรักษารถยนต์ตามคู่มือ

แนวทางการประกอบอาชีพ
– เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของเครื่องกลในโรงงาน
– ผู้ช่วยวิศวกร
– เจ้าของกิจการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ และเครื่องกลต่าง ๆ
– พนักงานรัฐและพนักงานเอกชน
– เจ้าหน้าควบคุมการผลิต
– เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์เครื่องกลต่างๆ